ใบครอบครองปลามังกร คืออะไร?

ใบครอบครองปลามังกร คือ “ใบอนุญาตให้มีไว้ครอบครองซึ่งสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์” ย่อสั้นๆว่า สป.15 มีอายุ 5 ปี ออกให้โดยกรมประมง

โดยสำหรับปลามังกรนั้น รายละเอียดที่ระบุในใบครอบครองก็จะมีชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ของผู้เลี้ยง และเลขไมโครชิพของตัวปลาที่เราได้ทำการเลี้ยง(ครอบครอง) โดยจะมีค่าธรรมเนียม 50 บาท (ณ ปี 2563) มีลายเซ็นและตราประทับของผู้ที่สามารถอนุญาตให้ครอบครอง  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตำแหน่งประมงจังหวัดนั้นเอง โดยที่ปลามังกรถือว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าที่ติดบัญชี CITES ที่เราต้องมี ใบครอบครองปลามังกร นั้นเอง

 

CITES คืออะไร

CITES (อ่านว่า ไซเตส) ก็คือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชพรรณจากป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดย คลิกที่นี่

ซึ่งทุกคนน่าจะทราบกันดีว่า ปลาตะพัด หรือ ปลาอโรวาน่า หรือปลามังกร “บางสายพันธุ์” นั้น ติดบัญชี CITES และหนึ่งในนั้นคือ ปลามังกรเอเชียที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
– Scleropages formosus เช่นปลามังกรเขียว(ตะพัดไทย) เรดบี มังกรทองและมังกรแดงทุกวาไรตี้
– Scleropages inscriptus มังกรพม่า หรือหลายท่านเรียกว่า บาติสพม่านั้นเอง

ตามพรบ.สงวนฯ ปี62 บอกไว้ว่าผู้ใดครอบครองสัตว์น้ำเหล่านี้ ต้องมีใบอนุญาตครอบครองฯ ความผิดก็ตามกำหนดไว้ในพรบ.สงวนฯ62 (สามารถสืบค้นได้ครับ)
*โดยที่ตัวปลาต้องมีไมโครชิพฝังในตัวเท่านั้น พร้อมเลขชิพจะกี่หลักก็ได้ไม่ใช่สาระสำคัญครับ

 

นี้เป็นหน้าตาของใบครอบครองปลามังกร (สป15)

 

ข้อสังเกตคือ ปลามังกรที่เราจะทำ ต้องมีไมโครชิพฝังในตัวแล้วเท่านั้น ไม่ใช่ไมโครชิพที่แยกออกมานอกตัวปลา

ขั้นตอนและเอกสารที่เราต้องใช้ทำ

เราไม่สามารถทำใบนี้ได้เอง รวมทั้งผู้ที่ขายปลามังกรให้กับเราด้วย และใบเซอร์ฯ หรือใบรับรองสายพันธุ์ปลามังกรก็ไม่สามารถใช้แทนกันได้ด้วย แต่ผู้ที่จะออก ใบครอบครองปลามังกร ให้เราได้คือกรมประมงเท่านั้น ซึ่งวิธีการได้มานั้นหลงเจียงอโรวาน่าจะแยกเป็น 2 ไทม์ไลน์ดังนี้ครับ

ก่อนปี 2563
1. เราจะต้องได้เอกสารฉบับหนึ่งจากผู้ขายดังนั้น
– ใบเคลื่อนย้ายฯ (มีค่าธรรมเนียม 100 บาท)
– ใบกำกับการจ่าหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองฯ
2. จากนั้นให้เรานำเอกสารชุดนี้ + บัตรประชาชน + เงิน50บาท ไปขึ้นเป็นใบครอบครองฯ (สป.15) ที่สำนักงานประมงของจังหวัดที่เลี้ยงปลาตัวนั้นๆอยู่

หลังปี 2563 (ปัจจุบัน)
กรมประมงใจดี ยกเลิกใบเคลื่อนย้ายแล้ว โดยขั้นตอนการขอ ใบครอบครองปลามังกร ในปัจจุบันจะเป็นตามนี้
1. ผู้ขายจะต้องให้เอกสารนี้มา
– ใบกำกับการจ่าหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองฯ (ไม่มีค่าธรรมเนียมใดใด ถ้าใครขอ เป็นไปได้ว่าท่านอาจจะเสียเงินเปล่า)
2. ให้ผู้ซื้อนำใบกำกับฯที่ผู้ขายออกให้นี้ + บัตรประชาชน + เงิน 50 บาท (บางที่อาจจะขอใบอนุญาตค้าฯ สป.11 ของผู้ขาย ประกอบเพิ่มเติมด้วย) ไปขึ้นใบครอบครองได้เลยที่ประมงจังหวัดที่เลี้ยงปลาตัวนี้อยู่ได้เลย

ซึ่งปลาจากหลงเจียงอโรวาน่าทุกตัวตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปจะไม่มีค่าใช้จ่ายอีกแล้ว และจะถูกส่งไปพร้อมกับตัวปลาเลย (ถ้าไม่ลืมนะครับ)

 

ใบเซอร์ฯ (Certificate Identify) ใช้แทนได้ไหม

ไม่ได้ครับ เพราะใบเซอร์ฯ หรือใบรับรองสายพันธุ์ที่ออกโดยฟาร์มเพาะพันธุ์นั้นไม่ถือว่าเป็นเอกสารที่รับรองโดยทางราชการ ไม่สามารถใช้แทนหรือแม้กระทั้งเป็นเอกสารประกอบการออกใบครอบครองได้เลยแม้แต่นิดเดียว

นี้เป็นหน้าตาของใบกำกับการจำหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองในปัจจุบัน