เริ่มต้นเลี้ยงปลามังกรที่ดี มีชัยไปมากกว่าครึ่ง คือเหตุผลที่ การปล่อยปลามังกรลงตู้ หรือ การปรับน้ำปลามังกร เพื่อป้องการ ปลามังกรน๊อคน้ำ อย่างถูกต้องคือสิ่งที่ผู้เลี้ยงทุกท่านต้องทำความเข้าใจ เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีเลี้ยงปลามังกรให้สวยอย่างนึงเช่นกัน ไม่ว่าจะสายพันธุ์ปลามังกรอะไรก็ตาม เช่น มังกรเขียว มังกรเงิน ทองมาเลย์ มังกรแดง ก็ล้วนต้องการการปรับสภาพเหมือนๆกัน โดยเฉพาะน้ำที่ต่างกันมากๆเช่น จากน้ำประปามาเป็นน้ำบ่อ หรือน้ำบาดาล เริ่มต้นด้วยน้ำที่ใช้เลี้ยงที่ดี น้ำที่ใช้เลี้ยงปลามังกรสามารถ อ่านรายละเอียดได้โดยคลิกที่นี่

การปล่อยปลามังกรลงตู้ ด่านแรกของการเลี้ยงปลา

ทำไมเราถึงต้องการการปรับน้ำปลามังกร เมื่อเราได้เริ่มซื้อปลามังกรมา ส่วนใหญ่ร้านค้าจะไม่ได้มาส่งให้ถึงบ้านเรา เพราะอาจจะด้วยระยะทางที่ไกล ดังนั้นจึงอาจจะส่งปลามาให้เราถ้าไม่สนามบิน ก็บขส.ของแต่ละอำเภอครับ

แน่นอนครับ ด้วยระยะทางที่ห่างกันมันก็ส่งผลให้คุณภาพของน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามังกรในแต่ละท้องที่ก็ต่างกันด้วย ซึ่งมีหลายปัจจัยดังเช่น

  • น้ำประปาแต่ละท้องที่มีคุณภาพที่ต่างกัน
  • ระบบกรองส่งผลให้คุณภาพน้ำต่างกันไม่มากก็น้อย แน่นอนว่าน้ำในตู้ปลาของร้านกับน้ำในตู้ปลาของเรา มันก็ต้องต่างกันด้วยเช่นกัน
  • บางร้านอาจจะเลี้ยงกับน้ำประปา น้ำบาดาล น้ำบ่อ ก็ต่างกับน้ำของเราอีก
  • ระหว่างการขนส่งปลามังกร คุณภาพน้ำในถุุงที่ปลาต้องแช่อยู่ในนั้น ทั้ง ค่าph อุณหภูมิ แอมโมเนียที่เกิดขึ้น ก็ต่างจากน้ำที่เรารันทิ้งเอาไว้แล้วเช่นกัน
  • ยังไม่นับพวกแร่ธาตุ หรือวิตามินที่อาจจะมีการใส่เพิ่มเติมลงไปในน้ำ ก็ส่งผลให้คุณภาพน้ำต่างกับน้ำที่เราใช้เลี้ยงอีกด้วย

ปลามังกรน๊อคน้ำ เป็นอย่างไร

จากที่ผมบอกข้างต้น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าปลามังกรที่เราเพิ่งซื้อมาปรับตัวไม่ทัน หรือเจอสภาพน้ำที่แตกต่างกันเกินไปอย่างฉับพลัน

  • แน่นอนเลยนั้นคือ ปลามังกรน๊อคน้ำ หลังจากลงปลาไม่ถึง 15 นาที อาการก็เช่น ปลามังกรหลังลอย ปลามังกรตาขุ่น ปลามังกรหายใจหอบ เป็นต้น ซึ่งในกรณีปลาหายใจหอบเพราะเจอคลอรีน ผมบอกได้เลยว่าอาจจะตายภายใน 15 นาทีเลยครับ ต่อให้คุณช่วยชีวิตได้ ปลาก็สภาพไม่ดีแล้วครับ
  • และถ้าหากเรายังนิ่งเฉยต่ออาการเหล่านี้ ในอีกไม่กี่วันต่อมาก็อาจจะทำให้เกิดอาหารเหล่านี้ ปลามังกรตาขุ่น ปลามังกรหางเปื่อย ปลามังกรหลังลอย จนหลังแห้ง สุดท้ายแล้วถ้าแก้ไขไม่ถูกจุด ปลามังกรก็จะตายได้เช่นกัน

ดังนั้นเพื่อป้องกันไว้ก่อน เราจึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่การปรับน้ำให้ปลามังกรก่อนที่จะทำการปล่อยปลามังกรลงตู้ เพื่อให้คุ้นเคยกับน้ำในตู้ปลามังกรที่เราได้เตรียมเอาไว้อย่างค่อยๆเป็นค่อยๆไป เพื่อป้องกันปลาน๊อคน้ำอย่างที่หลงเจียงอโรวาน่าได้บอกเอาไว้ข้างต้นแล้วครับ

การปรับน้ำปลามังกร เราจะทำการปรับสภาพน้ำด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

สำหรับการปล่อยปลามังกรลงตู้นั้น ผมได้ทำคลิปวีดีโอมาให้ดูกัน จะมีวิธีการปรับน้ำแบบลงมือทำจริงๆ สามารถดูเพื่อเป็นแนวทางได้เลยครับ

1. ปรับอุณหภูมิของน้ำในถุง (ใช้เวลา 15-30นาที)

เราจะต้องเช็คอุณหภูมิของน้ำในถุงกับน้ำในตู้ก่อน ถ้าต่างกันมาก ให้เราแช่ถุงปลาทั้งถุงลงในตู้ก่อน 15-20 นาที (ขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องแกะถุงปลา)
แต่ถ้าในกรณีที่น้ำในถุงดูขุ่นมาก (น้ำเสีย) และมีของเสียจากตัวปลาออกมามาก ให้เราข้ามขั้นตอนที่ 1 แล้วมาทำขั้นตอนที่ 2 เลยครับ

2. การเปลี่ยนถ่ายน้ำในถุงกับตู้รอบที่ 1 (ใช้เวลา 20-40นาที)

ขั้นตอนนี้เป็นการเข้าสู่การปรับสภาพน้ำ เพื่อให้ตัวปลาสามารถปรับตัวให้เข้ากับน้ำของเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการน๊อคน้ำนั้นเอง มีขั้นตอนดังนั้น
– ตักน้ำในถุงปลามังกรออกไปครึ่งถุง
– เติมน้ำจากในตู้ให้เท่ากับน้ำที่ตักทิ้งออก ขั้นตอนนี้ให้ทำอย่างระมัดระวัง เพราะถ้าผู้แพคปลาไม่ชำนาญ ปลาอาจจะยังตื่นตัวอยู่และจะกระโดดออกมาได้
– อัดอากาศกับถังอ๊อคซิเจน หรือถ้าไม่มีถังออกซิเจน ให้เราใส่สายอากาศ (หัวฟู) ลงไปให้ลึกถึงก้นถุง แล้วผูกปากถุง แช่ไว้ 20 นาทีเป็นอย่างต่ำ

3. การเปลี่ยนถ่ายน้ำในถุงกับตู้รอบที่ 2 (ใช้เวลา 20-40นาที)

ให้เราทำซ้ำเหมือนในขั้นตอนที่ 2 ได้เลย

4. การปล่อยปลามังกรลงตู้

สามารถดูได้จากคลิปวีดีโอได้เลยครับ

หากวีดีโอไม่ชัด คลิกเข้าไปดูใน YouTube ได้ที่ลิงค์นี้

https://youtu.be/8YuxlFJAvOA

หลงเจียงอโรวาน่า อยากจะบอกทุกท่านว่า หลายๆท่านมักจะปรับโดยการแช่แค่ถุงปลาเท่านั้น ซึ่งวิธีการนี้เป็นแค่การปรับเฉพาะอุณหภูมิอย่างเดียว (โดยที่ไม่ได้ทำการถ่ายน้ำให้ตามขั้นตอนที่ 2-4 อย่างข้างต้น) แต่ในความจริง ยังมีอีกหลายอย่างที่ควรต้องปรับเช่น ค่า PH ความกระด้างของน้ำ สารประกอบไนโตรเจน หรือแม้กระทั้งค่าความเค็มของน้ำ (สามารถหาอ่านรายละเอียดได้ใน เวบไซส์กรมประมง ได้ครับ) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถปรับสภาพโดยอาศัยการแช่ถุงเพียงอย่างเดียวครับ