ปลามังกรป่วย และ การสังเกตปลามังกรป่วย ที่พบบ่อยๆ

ในบทความนี้จะพูดถึงแต่ในเรื่อง ปลามังกรป่วย รวมไปถึง การสังเกตปลามังกรป่วย แนวทางป้องกัน และ การรักษาปลามังกรป่วย (เบื้องต้น) เพราะต้องเข้าใจก่อนว่าการรักษาปลาที่ถูกต้อง จะต้องถูกวินิฉัยจากบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น แต่ในกรณีที่เราไม่สามารถพาปลาไปพบสัตวแพทย์ได้ การรักษาเบื้องต้นด้วยตัวเองก็อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผมก็จะบอกว่า โอกาสหายนั้น ก็อาจจะมีไม่เท่าการพาไปพบสัตวแพทย์ เผลอๆอาจจะหนักกว่าเก่าก็เป็นไปได้ครับ

และก่อนที่จะเริ่มเรื่อง เรามาสรุปก่อนนะครับว่า สาเหตุการตายหลักๆมีอะไรบ้าง

4 สาเหตุหลักๆที่ทำให้ปลาตายมีดังต่อไปนี้

การสังเกตปลามังกรป่วย

สำหรับปลามังกรนั้น การสังเกตปลามังกรป่วย จะมีความสำคัญมาก เพราะยิ่งเรารู้ว่าปลาป่วยได้เร็วเท่าไร การรักษาให้หายก็จะยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้นไปด้วย  และการสังเกตปลาป่วย หากพบอาการเหล่านี้มากกว่า 1 อย่าง ก็เข้าข่ายปลาป่วย ซึ่งต้องเริ่มเฝ้าดูอาการหรือเริ่มรักษาปลาให้เร็วที่สุดแล้วครับ

  • ปลาหายใจหอบ หายใจหนัก แรงและถี่ เกิน 5 นาที
  • ปลาหลังลอยนิ่งๆพ้นผิวน้ำ บางกรณีปลาจะเชิดหัวเหนือผิวน้ำแล้วฮุบอากาศ พร้อมกับว่ายพุ่งไปข้างหน้าแบบไม่รู้ทิศทาง รวมไปถึงว่ายชนตู้
  • ปลาเสียการทรงตัว เช่นหงายท้อง หรือแม้กระทั่งว่ายควงสว่าน
  • ปลาถูตู้ โดยเอาลำตัวถูกับตู้ตลอดเวลา
  • น้ำเหม็นคาวผิดปกติ ปลาขับเมือก
  • แก้ม/เบ้าหน้า บวม
  • เกล็ดอ้า มากกว่า 1 เกล็ด
  • เกล็ดมีรอยช้ำแดง หรือเป็นขึ้นลายสีดำ (คล้ายอักขระ)
  • หงายท้อง
  • หนวดเหมือนหนวดปากหมึก
  • หางเปื่อย
  • เกล็ดกร่อนและลามไปเรื่อยๆ
  • มีเส้นขาวๆยาวๆโผล่มาจากคาง ครีบ หาง (เป็นปรสิต)
  • หัวเป็นรูเหมือนโดนเจาะ (มีมากกว่า 1 รู)
  • ตาขุ่น (บางกรณีวุ้นตาจะขุ่นและโป่งบวมออกมาด้วย)

 

ปลามังกรป่วย การสังเกตปลาป่วย การรักษาปลามังกรป่วย หนอนสมอ ทองมาเลย์ ทองมาเลย์ในตู้ดำ ปลามังกรทอง ปลามังกรไฮแบ็ค ราคาปลามังกร ตู้เลี้ยงปลามังกร ราคาปลามังกรตัวเล็ก ทองมาเลย์24K สายพันธุ์ปลามังกร ขายลูกปลามังกรออนไลน์ ขายลูกปลามังกรแดง ทองมาเลย์สายเก่า ทองมาเลย์บลูเบส ทองมาเลย์24K สายพันธุ์ปลามังกร ปลามงคล ปลามังกรหัวทอง หลงเจียง อโรวาน่า วิธีเลี้ยงปลามังกร หลอดไฟปลามังกร มังกรแดง ทองอินโด RTG ร้านขายปลามังกรสงขลา super red arowana

ปลามังกรป่วย ป่วยได้จากอะไรบ้าง

หลงเจียงอโรวาน่าเคยบอกไปว่า หากปลามังกรเกิดการบาดเจ็บ บวกกับคุณภาพน้ำในตอนนั้นก็ไม่ดี น้ำเป็นพิษกับตัวปลา ก็อาจจะทำให้ปลาป่วยได้  แต่ถ้าหากว่าทุกอย่างดีอยู่แล้วปลายังป่วยล่ะ ? เราพอจะวิเคราะห์อะไรได้บ้าง ลองมาดูกันครับ

 

– ปลามีเชื้อจากแหล่งเดิม

จะเกิดในกรณีที่เราเพิ่งซื้อปลาเข้ามา บวกกับความอ่อนแอจากการขนส่ง รวมทั้งกับการปรับน้ำที่ไม่ดีพอ ก็อาจจะทำให้ปลาแสดงอาการป่วยที่เราก็เป็นได้ รวมไปถึงเชื้่อปรสิตทั้งหลายด้วย

แนวทางป้องกัน

  • ปรับน้ำให้ถูกวิธีก่อนปล่อยปลาลงตู้ เพราะถ้าปลาอ่อนแอจากความต่างของคุณภาพน้ำ โรคที่ติดตัวปลามาอยู่ก่อนแล้ว อาจจะทำให้ปลาไม่สามารถปรับตัว และอาจจะตายได้เลยครับ
  • กักโรคปลา 3-5 วัน โดยการใช้ยากำจัดปรสิต หรือใช้ฟอร์มาลีนในการป้องกันก็ได้ครับ

 

– ป่วยเพราะติดจากปลาที่เพิ่งนำมาเลี้ยงด้วยกัน

จะเกิดในกรณีที่เราซื้อปลาร่วมตู้ (ปลาเมท/แทงค์เมท) ตัวใหม่ๆเข้ามาโดยไม่ได้มีการกักเชื้อตั้งแต่แรก เหมือนกับกรณี Covid-19 ที่จะต้องเข้าสู่กระกวนการ state quarantine 14วันนั้นเองครับ

แนวทางป้องกัน กักโรคปลาตัวที่เพิ่งได้มา 3-5 วัน โดยการใช้ยากำจัดปรสิต หรือใช้ฟอร์มาลีนในการป้องกันก็ได้ครับ แต่ถ้าใช้ยาปฏิชีวะ ต้องรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 5 วันครับ

 

– ติดเชื้อมาจากอาหาร

พบได้บ่อยเหมือนกัน โดยเฉพาะอาหารสด หรือเหยื่อสดที่กินทั้งตัว สิ่งมีชีวิตที่จับจากธรรมชาตินั้น ล้วนมีเชื้อโรคจากธรรมชาติติดมาไม่มากก็น้อยอยู่แล้วครับ แต่โดยปกติปลาจะต้านทานโรคได้ แต่ปลากำลังอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันน้อยลง ปลาก็อาจจะไปได้ง่ายๆเหมือนกันครับ

แนวทางป้องกัน กรณีนี้ ก่อนจะให้ปลากิน ก็ต้องมีการล้างทำความสะอาดอาหารเหล่านั้นให้ดีก่อน ควรซื้ออาหารที่สดและสะอาดจริงๆ ควรหลีกเลี่ยงเหยื่อสดที่กินทั้งตัว ต้องแน่ใจถึงความสะอาดของแหล่งที่ได้มา เพราะเราจะไม่สามารถทำความสะอาดได้เลย โดยเฉพาะสัตว์ที่อาศัยตามบ้านเช่น แมลงสาบ จิ้งจก เป็นต้น

 

– การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ร้อนจัด หนาวจัด สลับๆกัน ก็เป็นสาเหตุให้ปลาปรับตัวไม่ทัน ป่วยเอาดื้อๆเลยครับ

แนวทางป้องกัน ควรมีฮิตเตอร์ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว โดยตั้งไว้ที่ 29-30 องศาเซลเซียล

 

– ปลาอ่อนแอเพราะคุณภาพน้ำต่ำ

เมื่อทำการวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้นแล้วพบว่า
ค่า ph ไม่อยู่ในช่วง 7.0-8.5
ค่าแอมโมเนีย เกิน 0.5 ppm
ค่าไนไตรท์ เกิน 0.5 ppm
อุณหภูมิ สูงเกิน 30 องศาเซลเซียล

แนวทางป้องกัน เปลี่ยนน้ำให้บ่อยขึ้น และเพิ่มระบบกรองให้มากขึ้น เรื่องคุณภาพน้ำสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

การใส่ยาโดยไม่ให้เกิดผลเสียกับปลา จะต้องคำนวนทั้งปริมาณน้ำกับยาให้สัมพันธ์กัน

การรักษาปลามังกรป่วย (เบื้องต้น)

ยังคงย้ำว่า “การซื้อยามาใช้เองโดยไม่ได้ผ่านการวินิฉัยจากสัตวแพทย์นั้น เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก” แต่ด้วยที่สัตวแพทย์ด้านสัตว์น้ำโดยเฉพาะ ยังมีไม่มากพอเหมือนสัตว์แพยท์ที่รักษาสัตว์เลี้ยงทั่วไปเช่น สุนัข แมว ดังนั้นที่ผู้เลี้ยงปลาสวยงามเลยจำเป็นต้องเสี่ยงทำการรักษาด้วยตัวเอง ในเมื่อจะเสี่ยงทั้งที ก็ต้อแงเสี่ยงให้น้อยที่สุด เรามาดูแนวทางการรักษาปลามังกรในเบื้องต้นกันครับ

 

– ปลามังกรป่วย ที่เกิดจากเชื้อปรสิต

วิธีนี้สังเกตง่ายในบางชนิด ในปลามังกรที่พบบ่อยๆก็ เช่นหนอนสมอ จุดขาว ตัวเห็บทั้งหลาย เพราะเราจะเห็นตัวปรสิตออกมาจากตัวปลามังกรเลย แต่ในบางกรณีมันจะอยู่ในเหงือกทำให้แก้มปลามังกรปริออกมา (กรณีนี้เกล็ดจะไม่อ้า) หรืออาจจะตัวใสๆทำให้สังเกตได้ยากเช่นพวกเห็บบางชนิด

แนวทางรักษา
ใช้ยาประเภทกำจัดปรสิต และ ลด/เปลี่ยน อาหารเป็นๆที่กินทั้งตัว รวมถึงอย่าทิ้งเศษอาหารไว้ แม้กระทั้งเศษชิ้นเนื้อ เช่นพวกขากุ้งที่ปลากินเหลือก็ตาม

 

– ปลามังกรป่วย ที่เกิดจากการติดเชื้อภายนอก

ป่วยแบบนี้ จะสังเกตอาการได้ง่าย เช่นหนวดปลาหมึก หางเปื่อย ตาขุ่นและโปน เกล็ดกร่อน หัวเป็นรู หรือเชื้อรา หรือแม้กระทั่งปลาบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

แนวทางรักษา
ถ้าเป็นเชื้อราก็ให้ใช้ยาต้านเชื้อรา หากไม่ใช่ก็ให้ใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีหลายแบบและปริมาณของยา/น้ำในตู้ ก็แตกต่างกันด้วย สิ่งสำคัญที่ผมย้ำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะคือ ต้องคำนวนปริมาณน้ำในตู้ให้ถูกต้อง เพื่อที่จะรู้ปริมาณยาที่ต้องใส่ และต้องรักษาต่อเนื่อง 5 วันเป็นอย่างต่ำ แม้ว่าอาการป่วยของปลามังกรจะหายแล้วก็ตาม

 

– ปลามังกรป่วย ที่เกิดจากการติดเชื้อภายใน

วิธีนี้สังเกตยากที่สุด เพราะบางครั้งปลาจะไม่แสดงอาการอะไรออกมาเลย นอกจากว่ายอยู่นิ่งๆ ซึ่งเราก็จะไม่รู้ว่านิ่งเพราะเครียดหรือป่วยกันแน่ แต่จุดที่สังเกตได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ปลาจะมีอาการเกล็ดอ้า ในบางครั้งจะมีลายเส้นดำๆที่ตัวเกล็ดด้วย

แนวทางรักษา
ใช้ยาปฏิชีวนะเช่นกัน ใส่ยาให้สัมพันธ์กับปริมาณน้ำในตู้ และต้องรักษาต่อเนื่อง 5 วันเป็นอย่างต่ำ แม้ว่าอาการป่วยของปลามังกรจะหายแล้วก็ตาม
*ในบางครั้งอาการเกล็ดอ้า อาจจะมาจากน้ำในตู้มีคุณภาพที่ต่ำจนกลายเป็นพิษกับตัวปลา ถ้าเป็นสาเหตุนี้ เราจะพบก้อนเม็ดเลือดจับตัวเป็นกลุ่มๆ กระจายไปทั่วเหงือก ให้รีบวัดคุณภาพน้ำ แก้ไขและรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเช่นกัน

 

และนี้ก็เป็นทั้งหมดของสาเหตุหลักๆ ปลามังกรป่วย การสังเกตปลาป่วย และแนวทางป้องกัน อย่าลืมว่า การสังเกตอาการป่วยให้เป็น และเริ่มรักษาให้เร็ว จะเพิ่มโอกาสที่ปลาจะหายป่วยได้สูงมากๆ ส่วนยารักษาต่างๆ ก็ควรซื้อติดบ้านไว้จะเป็นการดีที่สุดครับ สามารถดูคลิปวีดีโอเรื่อง การรักษาปลาป่วยและบาดเจ็บ เพิ่มเติมได้ครับ

 

ขอบคุณที่ติดตามซีรีย์ การเลี้ยงปลามังกร เลี้ยงอย่างไรไม่ให้ตายทั้ง 4 ตอนจากหลงเจียงอโรวาน่าด้วย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลามังกร

อยากดูคลิป ความรู้ หรือพูดคุย ติดตามหลงเจียงอโรวาน่าให้ครบตามนี้เลยครับ

TEL โทร

083-5449699 โทรเลย เก็ต หลงเจียงอโรวาน่า ช่องทางติดต่อที่รวดเร็ว และทันใจที่สุดครับ

 

 

YOUTUBE

ดูคลิปปลาที่ขายทุกตัว วิธีการเลี้ยงปลามังกร กด SUBSCRIBE โดยการกดปุ่มนี้ครับ

 

LINE OFFICIAL

สอบถาม-พูดคุย เรื่องน่ารู้ บรอดแคสส่งให้โดยตรง แอ็ดเลย ไลน์ไอดี @LJArowana

 

 

FACEBOOK

ติดตาม Facebook หลงเจียง พูดคุย สอบถามได้ โดยพิมพ์ที่ช่องค้นหาว่า @LongJiangArowana